ชื่อบทความ : A Snowflake in All of Us: A Study of Motif in the Film Snow Cake (2006)
ผู้แต่ง : ผศ.ดร.อุษา พัดเกตุ
หน้า : 1-12
รายละเอียด
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อหาโมทีฟในภาพยนตร์เรื่อง สโนว์เค้ก (พ.ศ. 2549) และวิเคราะห์ความหมายและสารจากภาพยนตร์ผ่านโมทีฟต่าง ๆ พบว่า โมทีฟหลักในภาพยนตร์คือหิมะ ซึ่งถูกนำเสนอในรูปแบบที่หลากหลายและส่งสารในระดับต่าง ๆ กัน หิมะเมื่อนำเสนอโดยองค์รวมจะให้ภาพของความเฉยชาของคนทั่วไปที่พร้อมจะตัดสินผู้อื่นจากอคติของตน อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาโดยละเอียด ผลึกของหิมะ จะมีความสวยงาม โดดเด่น และแตกต่างกันไป เฉกเช่นลักษณะที่แตกต่างของตัวละครเอกทั้งสี่คนในภาพยนตร์ ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า หิมะเป็นโมทีฟในภาพยนตร์ที่นำสารเกี่ยวกับอันตรายของการด่วนตัดสินลักษณะคน คุณค่าแห่งปัจเจก ตลอดจนบทเรียนในการยอมรับสิ่งต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในชีวิตของคน ๆ หนึ่ง
คำสำคัญ :สโนว์เค้ก โมทีฟ วิจารณ์ภาพยนตร์
Abstract
This study aims to identify motifs in the film Snow Cake (2006) and to analyze the meanings and messages of the film based on the motifs. Snow is found to be the key motif of the film. It is presented in various forms and carries a layer of messages. Snow as an overall mass represents generality and the public’s indifferent tendency to typecast, as evidenced by the common attitudes and prejudices of the townspeople in the film. Snow as an individual flake, on the contrary, showcases singular beauty and unique characteristics, as witnessed in the lives of the main characters. Snow, therefore, carries the message of the risk of stereotypes and the value of individuality as well as the lesson of acceptance for a life full of possibilities.
Keywords :Snow Cake, Motif, Film criticism
ชื่อบทความ : บทวิเคราะห์เพลงกล่อมเด็กภาษาอังกฤษ
ผู้แต่ง : ดร.ศศิธร จันทโรทัย และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดุษฎี รุ่งรัตนกุล
หน้า : 13-26
รายละเอียด
บทคัดย่อ
บทความนี้สรุปผลการวิเคราะห์เพลงกล่อมเด็กภาษาอังกฤษในด้านรูปแบบการประพันธ์ เนื้อหา และหน้าที่ทางสังคม โดยรวบรวมบทเพลงกล่อมเด็กภาษาอังกฤษที่นิยมร้องกันในประเทศผู้พูดภาษาอังกฤษ ซึ่งส่วนใหญ่คือประเทศสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา จากการวิเคราะห์พบว่า เนื้อเพลงกล่อมเด็กภาษาอังกฤษมักอยู่ในรูปแบบกลอนสั้นๆ ใช้ภาษาธรรมดาง่ายๆ และมีผังเสียงสัมผัสและโครงสร้างที่ไม่ตายตัว อาจเพราะเพลงกล่อมเด็กมีต้นกำเนิดจากการเป็นวรรณกรรมมุขปาฐะของชาวบ้าน แต่ก็มีบางเพลงที่ได้รับความนิยมที่มีผู้ประพันธ์เป็นลายลักษณ์อักษรก่อนที่จะถูกนำไปร้อง ซึ่งจะมีเนื้อเพลงที่ยาวกว่าและมีโครงสร้างที่แน่นอนกว่า เนื้อหาและท่วงทำนองเพลงกล่อมเด็กโดยทั่วไปมักมีน้ำเสียงปลอบประโลมและมีบทบาทในกระบวนการสอนและขัดเกลาเด็กให้กลมกลืนกับสังคม แต่ก็มีบางบทเพลงที่มีเนื้อหาด้านที่ตรงกันข้าม เช่น บางเพลงมีนัยที่แสดงความไม่พอใจต่อสังคมหรือการเมือง บางเพลงมีนัยสื่อถึงภัยอันตราย ความสับสนไร้ระเบียบในสายตาของผู้อพยพชาวผิวขาวเมื่อได้ประสบพบเจอวิถีปฏิบัติของชนพื้นเมือง
คำสำคัญ :เพลงกล่อมเด็กภาษาอังกฤษ รูปแบบการประพันธ์ เนื้อหา หน้าที่ทางสังคม
Abstract
This paper summarizes the results of an analysis of literary pattern, content and social functions of English lullabies. Popular lullabies in English speaking countries, mainly the United Kingdom and the United States of America, were collected for data analysis. The study found that, due to their origin as a folk and oral literary form, the lyrics of the lullabies were in short poetic form with simple, everyday words and with flexible rhyme scheme and structure. However, some popular lullabies were written before being performed. As a result, the lyrics are longer with a more consistent structure. The content and tone of the lullabies are generally soothing and have a role in the teaching and socialization process on young children. Nevertheless, some lullabies contain opposite content. For example; some imply social or political dissidence, some connote danger, chaos and disorder judged through the eyes of the white immigrants when encountering the norm of the native people.
Keywords :English lullabies, Literary pattern, Content, Social functions
ชื่อบทความ : The Moral Ambiguity in Neil Gaiman’s The Graveyard Book
ผู้แต่ง : อาจารย์กมลพร ศิริโสภณ
หน้า : 27-38
รายละเอียด
บทคัดย่อ
บทความชิ้นนี้มุ่งศึกษาประเด็นความคลุมเครือเชิงศีลธรรม พัฒนาการและความสัมพันธ์ของบ็อดกับตัวละครอื่นในวรรณกรรมเยาวชนเรื่อง ผจญภัยในสุสาน โดย นีล เกแมน โดยวิเคราะห์ความคลุมเครือเชิงศีลธรรมของบ็อดผ่านสถานการณ์ที่ตัวละครดังกล่าวเผชิญปัญหาอันธพาลในโรงเรียน และปัญหาการใช้อำนาจในทางที่ผิด โดยพบว่าบ็อดกลายเป็นตัวละครที่มีความคลุมเครือเชิงศีลธรรมเมื่อผู้ปกครองและตนเองตกเป็นเหยื่อ ส่วนพัฒนาการเชิงอารมณ์และความสัมพันธ์แบบมิตรภาพระหว่างเพื่อนของบ็อดกับสการ์เล็ตนั้น การศึกษานี้ใช้ทฤษฎีจิตวิทยาเด็กของเดวิด เอลไคน์ และทฤษฎีจิตวิทยาวัยรุ่นของเดบอราห์ แทนเนน และแครอล กิลลิแกน ในการทำความเข้าใจปมและการคลี่คลายปัญหาความสัมพันธ์ของทั้งคู่ จากการศึกษาพบว่าในสถานการณ์คับขัน บ็อดแสดงพัฒนาการทางอารมณ์สูงกว่าแม้ว่าจะมีอายุน้อยกว่าสการ์เล็ต ส่วนปัญหาความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นเมื่อทั้งคู่เป็นวัยรุ่นตอนต้นนั้นเกิดจากเพศสภาพที่แตกต่างกัน ส่งผลให้ทั้งคู่มีความคาดหวังต่อมิตรภาพที่แตกต่างกันและไม่อาจรักษาความสัมพันธ์ไว้ได้ อาจกล่าวได้ว่าลักษณะเด่นของนิยายเรื่องนี้คือความคลุมเครือทางศีลธรรมที่เพิ่มขึ้นตามช่วงวัย และการสูญเสียความสัมพันธ์ฉันเพื่อนเมื่อเติบโตเป็นวัยรุ่น ผู้เขียนไม่เพียงช่วยเตรียมความพร้อมให้ผู้อ่านที่เริ่มเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นตอนต้น แต่ยังช่วยลดความตึงเครียดของผู้อ่านที่เผชิญความสูญเสียลักษณะเดียวกับตัวเอกของเรื่อง
คำสำคัญ :ผจญภัยในสุสาน ความคลุมเครือทางศีลธรรม ความสัมพันธ์ช่วงวัยเด็ก ความสัมพันธ์ช่วงวัยรุ่น
Abstract
This article aims to study Bod, the protagonist in Neil Gaiman’s The Graveyard Book, in terms of his moral ambiguity, development, and relationships with friends and enemies. His moral ambiguity is analyzed through a case of school bully and an abuse of authority. The study shows Bod’s moral ambiguity when he and his guardian are victimized. To understand his emotional development and friendship with Scarlett, David Elkind’s child development theories, Deborah Tannen’s, and Carol Gilligan’s adolescent development theories are used to examine the cause and how their conflicts are resolved. Examining Bod’s and Scarlett’s emotional development shows that Bod has higher degree of emotional development even though he is younger than Scarlett. Their problems occurring when they are young adolescents are caused by their different gender which eventually results in the end of their friendship. It can be said that the novel’s uniqueness is the presentation of the increasing moral ambiguity and the loss of friendship when entering adolescence. Implicitly, the author does not only encourages the young reader to prepare themselves for changes when entering adolescence, but also relieves the young adult reader’s tension caused by the same sufferings like the ones Bod experiences.
Keywords :The Graveyard Book, moral ambiguity, relationships in childhood, relationships in
ชื่อบทความ : การวิเคราะห์ภาพสะท้อนวิถีชีวิตประชาธิปไตยในเรื่องสั้นรางวัลพานแว่นฟ้า พ.ศ.2545 – 2556
ผู้แต่ง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขวัญชนก นัยจรัญ
หน้า : 39-56
รายละเอียด
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพสะท้อนวิถีชีวิตประชาธิปไตยที่ปรากฏในเรื่องสั้นรางวัลพานแว่นฟ้า ประจำปี พ.ศ.2545 – 2556 จำนวน 152 เรื่อง ผลการวิจัยพบว่าผู้เขียนได้สอดแทรกวิถีชีวิตประชาธิปไตยไว้ในการแสดงพฤติกรรมของตัวละครผ่านบทสนทนา ความคิด และการกระทำ ทั้งนี้วิถีชีวิตประชาธิปไตยที่ปรากฏมากที่สุด คือ ด้านคารวธรรม แสดงให้เห็นความเคารพสถาบันพระมหากษัตริย์ กฎหมาย เพื่อนมนุษย์ซึ่งรวมไปถึงการแสดงความเคารพในสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของมนุษย์ วิถีชีวิตประชาธิปไตยที่ปรากฏให้เห็นรองลงมา คือ ด้านสามัคคีธรรม สะท้อนภาพ ความสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนในชุมชน สังคม และประเทศชาติ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม และภาพสะท้อนวิถีชีวิตประชาธิปไตยด้านปัญญาธรรม ปรากฏจำนวนครั้งน้อยที่สุด สิ่งที่ปรากฏแสดงให้เห็นการใช้ปัญญาในการพิจารณาปัญหาร่วมกัน วิพากษ์วิจารณ์บุคคล นโยบาย โครงการของหน่วยงานภาครัฐโดยปราศจากอคติ รวมถึงการคัดเลือกบุคคลที่จะเข้ามาทำหน้าที่ผู้นำในฐานะผู้แทนของประชาชนที่ต้องเป็นไปตามกระบวนการของประชาธิปไตย โดยผ่านการเลือกตั้ง
คำสำคัญ :รางวัลพานแว่นฟ้า วิถีชีวิตประชาธิปไตย วรรณกรรมการเมือง
Abstract
This research aimed to analyze the democratic ways of life appearing in 152 short stories in Phan Wean Fah Award A.D.2002-2013. The result was that the authors inserted the democratic ways of life through the characters’ behaviors, namely, conversations, thoughts, and actions. The democratic way of life most frequently found was Dhamma of Reverence which represented to the respect for kings, laws, friends, including rights, liberty, and equality, which were fundamental personal rights of human beings. The second frequently found one was Dhamma of Unity which demonstrated the action that all of the people in community, society, and country collaborated homogeneously for the sake of common interest. The least appearing one was Dhamma of Wisdom which elaborated on intellectual co-consideration for solving problems and criticism without prejudice on individualism, policies, government projects, including recruitment for representatives which followed the democratic processes or patterns via elections.
Keywords :Phan Wean Fah Award, Democratic Way of Life, Political Literary
ชื่อบทความ : ลักษณะและความสัมพันธ์ของอนุภาคผู้ฉลาดและผู้โง่เขลาในนิทานประกอบสุภาษิตเขมร
ผู้แต่ง : อาจารย์พิมพ์นภัส จินดาวงค์
หน้า : 57-72
รายละเอียด
บทคัดย่อ
บทความวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะและความสัมพันธ์ของอนุภาคผู้ฉลาดและผู้โง่เขลาในนิทานประกอบสุภาษิตเขมร จำนวน 47 เรื่อง จากหนังสือประชุมเรื่องตำนานและนิทานพื้นบ้านเขมร ภาคที่ 1-9 โดยนำดัชนีอนุภาคนิทานพื้นบ้านของสติธ ทอมป์สัน มาใช้ประกอบการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ตัวละครผู้ฉลาดและผู้โง่เขลาในนิทานประกอบสุภาษิตเขมรมีทั้งลักษณะสากลและลักษณะเฉพาะ โดยตัวละคร ผู้ฉลาดที่เป็นลักษณะเฉพาะ ได้แก่ สัตว์ที่มีขนาดเล็กและอ่อนแอ ชายหนุ่มที่มีข้อบกพร่อง พ่อตา พระราชา แม่ม่าย และพระอินทร์ ส่วนตัวละครผู้โง่เขลาที่เป็นลักษณะเฉพาะ ได้แก่ พระสงฆ์ พี่เขย พ่อตา ชายหนุ่ม เด็กหญิง โจร พ่อแม่ ผี ยักษ์ ขุนนาง และรุกขเทวดา ตัวละครทั้งคนและสัตว์โดยมากเป็นตัวแทนของคนกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมเขมร พฤติกรรมของตัวละครผู้ฉลาดและผู้โง่เขลาจึงสามารถสะท้อนให้เห็นสภาพสังคม วัฒนธรรมเขมรได้ เมื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครผู้ฉลาดและผู้โง่เขลาพบว่ามี 5 ลักษณะ คือ 1) ความขัดแย้งระหว่างสัตว์ใหญ่กับสัตว์เล็ก 2) ความขัดแย้งระหว่างสัตว์กับมนุษย์ 3) ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ และมนุษย์กับสิ่งที่มีอำนาจเหนือมนุษย์ 4) ความเกื้อกูลระหว่างมนุษย์กับสัตว์ 5) ความเกื้อกูลระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ ความสัมพันธ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นการใช้นิทานเป็นช่องทางระบายความคับข้องใจของประชาชนที่มีต่อข้าราชการและผู้น้อยที่มีต่อผู้ใหญ่ สะท้อนการสั่งสอนสมาชิกในสังคมถึงความสำคัญของปัญญา การเลือกคบมิตร การเลือกคู่ครองและ การใช้ปัญญาเกื้อหนุนกันระหว่างผู้ปกครองและผู้ใต้ปกครอง นอกจากนี้ยังสะท้อนภาพชีวิตความเป็นอยู่และการปกครองของสังคมเขมรด้วย
คำสำคัญ :อนุภาค ผู้ฉลาด ผู้โง่เขลา นิทานพื้นบ้าน เขมร
Abstract
This article aims to examine important characteristics and relationship between “the wise” and “the foolish” motifs in 47 Khmer fable tales. Documents were gathered from Prachum rueang tamnan lae nithan phuenban Khamen phakthi 1-9 (ประชุมเรื่องตำนานและนิทานพื้นบ้านเขมร ภาคที่ 1-9) and have been studied by Stith Thompsons’ method from his Motif-Index of Folk Literature. It is found from the study that the wise and the foolish characters in Khmer fable tales had both universal and distinctive characteristics. The wise, considered from their distinctive characteristics, were weak and small animals, inferior men, fathers-in-law, kings, widowers and God Indra; whereas the foolish were Buddist monks, elder brothers-in-law, fathers-in-law, young men, little girls, thieves, parents, ghosts, giants, noble men and tree guardian spirits. Both human and animal characters represented each type of Khmer folks and reflected Khmer socio-cultural ways. Furthermore, the study reveals five types of relationship: 1) conflict between bigger and smaller animals 2) conflict between man and animal 3) conflict between men and/or man and supernatural being 4) friendship between man and animal 5) friendship between men. These relationships show how the Khmer common men release their stressed getting from the governors’ and/or the superiors deeds. It educates social members to realize how significant of cleverness, kinds of friends, mate selection and proper relation between the rulers and the subordinates, as well. It also reflected the Khmer ways of lives and governance system.
Keywords :Motifs, The wise, The foolish, Folktales, Khmer
ชื่อบทความ : Disguised Resistance in Haunani-Kay Trask’s Light in the Crevice Never Seen
ผู้แต่ง : นางสาวกุลศิริ วรกุล และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาภรณ์ ยิ้มวิลัย
หน้า : 73-88
รายละเอียด
บทคัดย่อ
งานวิจัยชิ้นนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะท้าทายการแบ่งแยกอำนาจเป็นสองขั้วระหว่างผู้กดขี่และผู้ถูกกดขี่ โดยศึกษากลยุทธ์ในการต่อต้านการครอบงำของชาวอเมริกันในงานเขียนพื้นเมือง เรื่อง Light in the Crevice Never Seen ของ Haunani-Kay Trask ซึ่งเป็นนักเขียนชาวฮาวาย โดยใช้กรอบทฤษฎี Infrapolitics ของ Scott ในการวิเคราะห์วรรณกรรมชิ้นนี้ จากการวิเคราะห์พบว่า Trask ใช้ภาษาอังกฤษควบคู่กับภาษาฮาวายพื้นเมือง นิทานปรัมปรา และการใช้มโนภาพในร้อยกรองเล่มนี้ Trask แทรกภาษาฮาวายพื้นเมืองในโครงกลอนของเธอเพื่อฟื้นฟูภาษาและประวัติศาสตร์ของฮาวายพื้นเมือง อีกทั้งเพิ่มอำนาจให้ชาวฮาวายพื้นเมือง Trask ยังใช้นิทานปรัมปราในการเน้นความสำคัญของธรรมชาติ วัฒนธรรมและความเชื่อทางศาสนาของชาวฮาวาย ผู้เขียนได้ใช้มโนภาพเพื่อแสดงให้เห็นถึงผลกระทบในทางลบของการยึดครองและเพื่อสร้างจิตสำนึกในการปกป้องธรรมชาติอีกด้วย งานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าความพยายามที่จะครอบงำและการต่อต้านเป็นของคู่กัน เมื่อมีการใช้อำนาจที่จะควบคุม ก็จะมีการต่อต้านเช่นกัน
คำสำคัญ :การต่อต้าน การยึดครอง ชาวฮาวายพื้นเมือง
Abstract
This paper aims to challenge the binary axis of power, the oppressors and the oppressed, by examining the numerous ways employed by Haunani-Kay Trask, a Hawaiian writer, to resist the impact of American colonization in Light in the Crevice Never Seen. This literary text is analyzed within the theoretical framework of Scott’s theory of infrapolitics. Trask utilizes disguised resistance strategies, combining English and Hawaiian languages, mythology, and imagery in her poetry collection. Trask inserts Hawaiian words into her poems to restore the native language and history and empower native Hawaiians. Myths are employed to stress the importance of nature, as well as Hawaiian cultures and religious beliefs. Imagery is Trask’s powerful tool for sending her hidden message—the negative effects of colonization and raising readers’ awareness of the need of nature protection. This study points out that domination and resistance continue to coexist: power breeds resistance.
Keywords :resistance, Haunani-Kay Trask, colonization, Native Hawaiian
ชื่อบทความ : หลักการบรรเลงซอสามสายตามแนวทางของอาจารย์เจริญใจ สุนทรวาทิน
ผู้แต่ง : นายประชากร ศรีสาคร และอาจารย์อมรินทร์ หมอกอ่อน
หน้า : 89-106
รายละเอียด
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นการนำเสนอองค์ความรู้เรื่องหลักการบรรเลงซอสามสายตามแนวทางของอาจารย์เจริญใจ สุนทรวาทิน โดยการรวบรวมจากรายงานวิจัย และวิทยานิพนธ์ของผู้เขียนในระดับปริญญาบัณฑิต และมหาบัณฑิต พร้อมทั้งสัมภาษณ์เพิ่มเติมจากลูกศิษย์ผู้ได้รับการสืบทอดซอสามสายโดยตรงจากอาจารย์เจริญใจ สุนทรวาทิน จำนวน 5 ท่าน มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอหลักการบรรเลงซอสามสายตามแนวทางของอาจารย์เจริญใจ สุนทรวาทิน ในบริบทของระเบียบวิธีการบรรเลงว่าด้วยเรื่อง ท่านั่ง ท่าจับซอสามสาย การใช้คันชัก การใช้นิ้ว รวมถึงหลักการดำเนินทำนองสำหรับการบรรเลงรวมวง และการบรรเลงคลอร้อง
อาจารย์เจริญใจ สุนทรวาทิน ถือเป็นเอตทัคคะด้านซอสามสายที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่ง ซึ่งได้รับการสืบทอดวิชาซอสามสายจากบรมครูทั้ง 3 ท่าน ได้แก่ 1) ครูหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยชีวิน) 2) พระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี) 3) ครูเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล อาจารย์เจริญใจ สุนทรวาทิน ได้ศึกษาวิชาซอสามสาย และได้นำความรู้มาคัดสรรเลือกใช้ชนิดที่เรียกว่า “รู้รับ ปรับใช้ ประสานประโยชน์” อย่างเหมาะสมกับตนเองจนเป็นรูปแบบของการบรรเลงซอสามสายที่ใช้ยึดถือปฏิบัติในสำนัก “เสนาะดุริยางค์” เรื่อยมา ในการสืบทอดนั้นอาจารย์เจริญใจ สุนทรวาทิน จะสืบทอดตามทักษะของผู้บรรเลงที่มีอยู่ แล้วตกแต่งลีลาท่วงทำนองด้วยกลเม็ดเด็ดพรายต่าง ๆอย่างประณีต โดยยึดหลักแห่งความกลมกลืนในสุนทรียะเป็นสำคัญ
คำสำคัญ :หลักการบรรเลงซอสามสาย เจริญใจ สุนทรวาทิน
Abstract
This article presents the acquaintance with the performing of Sorsamsai according to Charernjai Sundaravadin’s method. It was derived from the accumulation of the author’s researches and thesis during studying undergraduate and graduate program. The additional interviews with five successors who studied Sorsamsai directly under Charernjai Sundaravadin were included. This article is intent to propose the principle of performing Sorsamsai according to Charernjai Sundaravadin’s method in the context of performing tradition, i.e., “sitting posture, holding, bowing, and fingering.” In addition, the context of the ensemble and accompaniment are also integrated.
Charernjai Sundaravadin was acclaimed as one of the renowned specialists in Sorsamsai. She was the successor of the 3 remarkable grand masters in Sorsamsai, i.e.1) Kru Luang Pairoh Siaeng Sor (Un Durayachivin) 2) Phraya Phumee Sevin (Jit Jitrasevi) 3) Kru Dewaprasitdi Pattayakosol. She studied, adopted, and utilized her instrumental knowledge in Sorsamsai proficiently. Her “perception, adoption, and harmonization” have been acknowledged as a discipline in performing Sorsamsai in the house of “Sanohduriyang.”In term of succession, she instructed her successors according to their own competences. She embellished them with her delicate and irresistible techniques which adhered very strictly to the main aesthetic element – the harmoniousness.
Keywords :Sorsamsai performing skill method, Charernjai Sundaravadin
ชื่อบทความ : บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร
ผู้แต่ง : พระพีร์ญาภพพ์ ธารพนาลี
หน้า : 107-112
รายละเอียด