วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

ปีที่ 33 ฉบับที่ 3 เดือน กรกฏาคม-กันยายน 2561
วารสารเพื่อการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ วว. โดย สำนักดิจิทัลและสารสนเทศ วว.
Download PDF รายบทความ read
 เลิฟ@เฟิสต์ไซน์ : ประโยชน์ของพรีไบโอติกส์และโพรไบโอติกส์กับร่างกายมนุษย์
ดร.นฤมล รื่นไวย์ และ สายสวาท พระคำยาน
25
 คุยเฟื่องเรื่องวิทย์ : บริการด้วยมาตรฐาน เป็นมิตร ถูกต้อง ฉับไว คือหัวใจคุณภาพของกลุ่มงานบริหาร บทสัมภาษณ์ ดร.จิตรา ชัยวิมล รองผู้ว่าการบริหาร วว.
ศิระ ศิลานนท์ และ สลิลดา พัฒนศิริ
36
 ดิจิทัลปริทัศน์ : MagicTech เทคโนไสยเวทย์และการพัฒนาการเรียนรู้ในประเทศไทย
ชนะ ปรีชามานิตยกุล และ ดร.ภัทราวุฒิ แสงศิริ
15
 อินโนเทรนด์ : – สร้างจมูกเทียมจากไข่กบ การพัฒนาหุ่นยนต์ตรวจจับกลิ่น – Graphene filter วิวัฒนาการใหม่การกรองน้ำทะเลเพื่อใช้ดื่มได้ในราคาที่ถูกลง – รถสร้างจากเครื่องพิมพ์สามมิติ 3-D
บุญศิริ ศรีสารคาม
10
วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต : เมื่อขาดอาหารแล้วร่างกายเป็นอย่างไร
บุญเรียม น้อยชุมแพ
7
เกร็ดเทคโน : นวัตกรรมการขึ้นรูปแม่พิมพ์ผ้าบาติก โดยใช้ CAD/CAM/CNC ตอนที่ 1
อรุณี ชัยสวัสดิ์ และ อรุณรัตน์ แสนสิ่ง
11
แวดวงวิจัย : ตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ระดับชุมชน ตอนที่ 2
อรุณี ชัยสวัสดิ์ ประวิทย์ เทพนุ้ย สมหวัง สองห้อง และศรัทธา วัฒนธรรม
19
นานานิวส์ : เบญจมาศสายพันธุ์ใหม่ที่มีศักยภาพต้านทานโรคแห่งแรกของไทย พร้อมส่งเสริมเกษตรกรปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ 
กองประชาสัมพันธ์ วว.
11
หรือ ดาวน์โหลดทั้งฉบับ  pdf 24

จากกองบรรณาธิการ

วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับนี้ กองบรรณาธิการขอนำเสนอเรื่องราวที่คิดว่าน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง คือ ?ประโยชน์ของพรีไบโอติกส์และโพรไบโอติกส์กับร่างกายมนุษย์? เนื่องจากเป็นเรื่องของอาหารการกินกับสุขภาพของมนุษย์ ทำให้เราได้ใช้ชีวิตอย่างอยู่ดี มีสุข โดยที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ซึ่งมีความเชี่ยวชาญงานวิจัยด้านพรี-โพรไบโอติกส์มานาน ได้เห็นความสำคัญของการนำพรี-โพรไบโอติกส์มาใช้ประโยชน์ จึงมีโครงการก่อตั้งศูนย์นวัตกรรมผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่ออุตสาหกรรม (Innovative Center for Production of Industrially-used Microorganisms: ICPIM) เพื่อการวิจัยพัฒนา การผลิตและบริการด้านอาหารที่มีองค์ประกอบของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์
นอกจากนั้น ท่านผู้อ่านยังจะได้พบกับบทความเรื่อง ?MagicTech เทคโนไสยเวทย์และการพัฒนาการเรียนรู้ในประเทศไทย? ที่กำลังอยู่ในความสนใจของผู้ปกครองที่เด็กยุคใหม่จะต้องมีการเรียนรู้แบบ deep learning ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดิจิทัลที่จะเข้ามามีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน มีรูปแบบการทำงานราวกับเป็นสิ่งวิเศษมหัศจรรย์ที่ใช้เวทย์มนต์ ดังนั้น ภาคการศึกษาจึงต้องปรับตัวเองในการสร้างคนที่มีความรู้ความสามารถในกระบวนการเชิงวิเคราะห์ที่เป็นระบบขั้นตอน และให้นักเรียนนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาในวิชาอื่น ๆ ได้ เพื่อรองรับสังคมดิจิทัลที่กำลังเติบโตด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างรั้งไม่หยุด ฉุดไม่อยู่
และท้ายสุด ขอแนะนำให้ท่านผู้อ่านได้รู้จักกับ ดร.จิตรา ชัยวิมล จากบทสัมภาษณ์รองผู้ว่าการบริหาร วว. คนล่าสุด เพื่อให้ทราบถึงแนวทางการบริหารจัดการองค์กรแบบ ?back stage? ที่มีภารกิจเอื้ออำนวยให้การสนับสนุนการดำเนินงานหลักของ core business ของ วว. คือการวิจัยพัฒนา การถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์และสังคม การสร้างนวัตกรรม และการบริการอุตสาหกรรม

ดร.นฤมล รื่นไวย์
บรรณาธิการ
editor @ tistr.or.th

Loading